7 กฏเหล็ก เจรจาต่อรองยังไง? ให้สำเร็จ

29 Jan 2021 | เคล็ดลับการทำงาน

ถ้าพูดถึงการเติบโตทางธุรกิจ รวมถึงความก้าวหน้าในทุกๆ สายอาชีพ ย่อมมีเรื่องของการเจรจาต่อรอง (Negotiation) มาเป็นหนึ่งในกระบวนการสำคัญ ซึ่งมีความจริงจังและมีการแข่งขันสูง เพราะการต่อรองนั้นต้องมีทั้งคุณสมบัติที่เหนือกว่าคู่แข่งและเหตุผล ที่ทำให้บริษัทที่เราจะเข้าไปประกอบธุรกิจด้วย เข้าไปสัมภาษณ์งาน หรือเข้าไปเจรจาเพื่อซื้อขาย มีความประทับใจและไว้ใจที่จะร่วมงานกับเรา ดังนั้น Jobbee ขอแนะนำ 7 ทริคง่ายๆ รับรองว่าใครๆ ก็ทำได้ ช่วยให้การเจรจาต่อรองของคุณประสบความสำเร็จได้ด้วยดี

1. จดข้อมูลและรายละเอียดทุกอย่าง

เมื่อเริ่มการเจรจาให้จดทุกอย่างที่เกี่ยวกับงาน ถึงแม้ว่าจะไม่ได้เกี่ยวข้องกับเรื่องการเงินโดยตรงก็ตาม แต่การจดรายละเอียดและองค์ประกอบต่างๆ ของงาน เช่น ข้อมูลบริษัท ลักษณะงาน จำนวนพนักงาน สินค้า จะช่วยให้เรามีตัวช่วยประกอบการตัดสินใจในตอนท้าย

2. อย่าปิดโอกาสตัวเอง 

เมื่อมีการเจรจาต่อรองแน่นอนว่าอีกฝ่ายต้องการให้เรายอมรับข้อตกลงของเขา ซึ่งแน่อนว่ามีผลประโยชน์ต่อเราน้อยแน่นอน พูดง่ายๆ คือเสียเปรียบนั่นเอง อย่าเพิ่งตอบรับข้อเสนอง่ายๆ ต้องใช้ความพยายามในการเสนอข้อต่อรองให้มากที่สุดจนกว่าจะถึงทางตันจริงๆ

3. เป็นคนขั้วบวก ความคิดดี มีมารยาท

ไม่ว่าข้อเสนอของอีกฝ่ายจะแย่แค่ไหนหรือไม่ถูกใจเราก็ตาม อย่าทำกิริยาที่แสดงออกว่าเราไม่ชอบ เบื่อ หรือไม่สนใจ เพราะอย่าลืมว่าบริษัทเค้าต้องการคนที่สนใจในการทำงานร่วมกับธุรการของเขา หากเราทำตัวตื่นเต้น สนใจ จะทำให้บริษัทที่เจรจามีความมั่นใจที่จะรับเราเข้าไปเป็นส่วนหนึ่งขององค์กร

4. มีตัวเลือกเยอะ

การเจรจาต่อรองก็เหมือนการดีเบทหรือโต้วาที เพื่อให้การต่อรองชนะ เราต้องงัดไม้เด็ดออกมาแบบไม่ยั้ง เมื่อเรานำเสนอในหัวข้อแรกแล้วโดนแก้กลับ หัวข้อต่อไปของเราต้องมีน้ำหนักและดีกว่าข้อเดิมที่นำเสนออกไป อาจไม่จำเป็นต้องขัดกับข้อเสนอของอีกฝ่าย แต่อาจเป็นการเสนอข้อแนะนำ ต่อยอดความคิดของฝ่ายตรงข้าม ซึ่งสิ่งนี้ยิ่งทำให้เราดูเป็นมิตรและฉลาด คุณค่าแก่การ่วมลงทุนหรือร่วมงานด้วย

5. ทุกข้อเสนอต้องมีเหตุผลสนับสนุนทุกประเด็น

การเจรจาต่อรองแต่ละครั้งมีจุดประสงค์หลักๆ คือเรื่องเงิน ซึ่งโดยนิสัยของมนุษย์นั้นย่อมไม่อยากให้ใครมองว่าตัวเองเป็นคนโลภ เห็นแก่เงิน แต่ก็ปฏิเสธไม่ได้หรอกว่าสิ่งที่เราต้องการจากการต่อรองมากที่สุดนั้นคือผลประโยชน์ที่เป็นเงินที่คุ้มค่า ดังนั้นเมื่อเราต้องการเงินที่มีจำนวนตัวเลขมากขึ้น เราจำเป็นต้องมีเหตุผลสนับสนุนที่ชัดเจนทุกคำพูดที่ได้กล่าวเสนอไป โดยเฉพาะเหตุผลที่เล่นกับความรู้สึก กระตุ้นความน่าสงสาร ความเห็นอกเห็นอกเห็นใจ สามารถใช้ได้ผลมากที่สุด เช่น ขอเพิ่มเงินเดือนเพราะมีภาระหนี้สินที่ต้องรับผิดชอบ, มีบ้านให้ผ่อน, เป็นเสาหลักครอบครัว, ป่วยเป็นโรคที่ต้องรักษาตัวระยะยาว เป็นต้น ซึ่งเหตุผลเหล่านี้จะทำให้อีกฝ่ายเห็นใจ และยอมรับสิ่งที่เราเสนอเนื่องด้วยความที่ไม่อยากถูกมองว่าเป็นคนใจร้าย เห็นเฉพาะแก่ผลประโยชน์ของบริษัท

6. มีแรงจูงใจมากกว่าแค่เรื่องเงิน

ดังคำกล่าวที่ว่า “ถ้าคุณมีแรงจูงใจมากกว่าแค่เรื่องเงิน คุณจะได้เงินที่มากกว่า” เช่น เราอาจโฟกัสในเรื่องดังต่อไปนี้ เราจะได้รับการฝึกอบรมมากแค่ไหน? โครงการแรกของเราจะเป็นอย่างไร? เราจะได้เข้าร่วมทีมใด? หรือแม้แต่ที่ปรึกษาของเราคือใคร? เรื่องเหล่านี้คือสิ่งที่เราควรนึกถึงและควรนำมาใช้ในการเจราต่อรอง หากคิดดูแล้วเรื่องเหล่านี้ล้วนมีความสำคัญมากกว่าเรื่องเงินซะอีกที่จะช่วยให้เราได้รับการพิจารณาให้ผ่านโดยเร็ว เพราะทำให้ภาพลักษณ์ของเราดูดี อีกฝ่ายจะมองเห็นว่าตัวเรามีค่าจริงๆ

7. เข้าใจคุณค่าของบริษัท

หากจะทำให้การเจรจาต่อรองได้ผลลัพธ์ออกมาดีนั้น เราต้องเข้าใจความชอบหรือวัตถุประสงค์ของบริษัท เพื่อสร้างข้อตกลงที่ดียิ่งขึ้นต่อทั้งสองฝ่าย ข้อ 7 นี้จะมีความเชื่อมโยงกับข้อที่ 6 ซึ่งหากเราเข้าใจถึงสิ่งที่บริษัทต้องการและโฟกัสในเรื่องธุรกิจของบริษัทนั้นๆ ย่อมทำให้บริษัทเห็นคุณค่าในตัวเราด้วยเช่นกัน

การเจรจาต่อรองคือสิ่งที่พลิกโอกาสชีวิตได้ ทำให้มีคุณภาพชีวิตที่ดีขึ้น ไม่ว่าจุดประสงค์ของเราจะดีหรือแย่ ได้เปรียบหรือเสียเปรียบ จงคำนึงถึงสิ่งที่สำคุญที่สุด นั่นคือการรักษาความสัมพันธ์ของทั้งสองฝ่าย เพราะในอนาคตไม่มีใครสามารถกำหนดได้ ถึงแม้วันนี้ยังเจรจากันไม่สำเร็จ แต่ในอนาคตอาจเป็นไปได้ เพียงอย่าทิ้งความพยายามจนกว่าจะประสบความสำเร็จ

ขอบคุณข้อมูลจาก medium.com

 

Share This